วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Lecture 09/02/54

อ้างอิง (Citing)
      - หลักการลงรายการส่วนต่าง ๆ ของบรรณานุกรม
      - รูปแบบการเขียนบรรณานุกรมทรัพยากรประเภทต่าง ๆ
ทำไมต้องอ้างอิง?
      - เพื่อป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานของผู้อื่น
      - เพื่อบอกที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้
      - เพื่อป้องกันการกระทำอันอาจเป็นการดจรกรรมทางวิชาการ
      - เพื่อแสดงความน่าเชื่อถือ
      - เพื่อแสดงมรรยาทในการทำงานทางวิชาการ
การลงรายการบรรณานุกรม : ชื่อผู้แต่ง
       1.ผู้แต่งคนไทย แต่งเอกสารเป็นภาษาไทย ให้ใส่ชื่อและนามสกุลตามลำดับ โดยไม่ต้องใส่คำนำหน้าชื่อ ยศ ตำแหน่ง หรือคุณวุฒิ
       2.ผู้แต่งชาวต่างประเทศ หรือผู้แต่งคนไทยที่แต่งเอกสารเป็นภาษาต่างประเทศ ให้ใส่ชื่อสกุล คั่นด้วยเครื่องหมาย , และตามด้วยอักษรย่อของชื่อต้น และชื่อกลาง
       3.ผู้แต่งที่เป็นนิติบุคคล ให้ใส่ชื่อนิติบุคคลตามที่ปรากฏในเอกสาร ดดยเริ่มจากหน่วยงานย่อยไปหาหน่วยงานใหญ่ตามลำดับ
       4.ผู้แต่ง 2-5 คน ให้ใส่ชื่อผู้แต่งคนที่ 1คั่นด้วยเครื่องหมาย , ตามด้วยชื่อผุ้แต่งคนที่ 2 ไปเรื่อย ๆ ตามลำดับ แต่ไม่เกิน 5 คน และก่อนหน้าชื่อผู้แต่ง คนสุดท้ายให้ใส่เครื่องหมาย & คั่น
       5.ผู้แต่ง 6 คน หรือมากกว่า ให้ใส่ชื่อผู้แต่ง 6 คนแรก และตามด้วยคำว่า คณะ หรือ et al.
การลงรายการบรรณานุกรม : ชือเรื่อง
       1.ชือหนังสือ ชื่อบทความ ชื่อวิทยานิพนธ์ และชื่อเอกสารที่ไม่ได้ตีพิมพ์ให้ใส่ชื่อเต็มตามที่ปรากฏในเอกสาร สำหรับชื่อภาษาอังกฤษ ให้พิมพ์ตัวอักษรแรกเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ ส่วนคำอื่น ๆ ให้ขึ้ต้นด้วยตัวพิมพ์เล็ก ยกเว้นกรณีที่เป็นชื่อเฉพาะ
       2.กรณีมีชื่อเรื่องย่อย (sub-title หรือ two-part title) ให้ใส่เครื่องหมาย : คั่นระหว่างชื่อเรื่องและชื่อเรื่องย่อยนั้น กรรีชื่อภาอังกฤษ ให้พิมพ์อัการตัวแรกของชื่อเรื่องย่อยเป็นตัวพิมพืใหญ่
การลงรายการบรรณานุกรม : การพิมพ์
       1.ครั้งที่พิมพ์ ให้ใส่ครั้งที่พิมพ์ตั้งแต่ครั้งที่ 2 ขึ้นไป หากมีข้อความ ระบุการปรับปรุงแก้ไขหรือการแก้ไขเพิ่มเติมก็ให้ใส่ไว้ด้วย
      2.สถานที่พิมพ์ ให้ใส่ชื่อเมือง หรือชื่อจังหวัด ซึ่งเป็นสถานที่พิมพืตามที่ปรากฏในหนังสือ หากหนังสือบอกชื่อเมืองไว้หลายชื่อ ให้ใส่ชื่อแรกเท่านั้น
      3.สำนักพิมพืหรือดรงพิมพื ให้ใส่ชื่อสำนักพิมพ์หรือโรงพิมพืตามที่ปรากกในหนังสือ หากมีทั้งชื่อสำนักพิมพ์และดรงพิมพ์ ให้ใส่ชื่อสำนักพิมพ์
      4.ปีพิมพ์ ให้ใส่เลขระบุปี พ.ศ. หรือค.ศง ที่หนังสือเล่มนั้นไว้ในเครื่องหมาย ( ) ต่อจากชื่อผู้แต่ง
ข้อมูลเกี่ยวกับการพิมพ์วารสาร
     -ปีที่พิมพ์ให้ใส่ตามวิธีการใส่ปีพิมพ์ของหนังสือ
     -ปีที่ ฉบับที่ และเลขหน้า ให้ใส่ตามลำดับดังนี้ ปีที่ (ฉบับที่) , เลขหน้า
ข้อมูลเกี่ยวกับการพิมพ์ของเอกสารอินเทอร์เน็ต
     -ให้ใส่ข้อมูลระบุวันเดือนปีที่ค้นข้อมูล และที่อยู่ URL หรือ domain ของเอกสารบนอินเทอร์เน็ตต่อท้ายรายละเอียดอื่น ๆ ของเอกสารประเภทนั้น ๆ
รูปแบบการเขียนบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่าง ๆ
หนังสือทั่วไป
       1.ผู้แต่ง 1 คน
ชื่อผู้แต่ง.(ปีที่พิมพ์).ชื่อหนังสือ.สถานที่พิมพ์:สำนักพิมพ์.
       2.ผู้แต่ง 2-5 คน
ชื่อผู้แต่งคนที่ 1 & ชื่อผู้แต่งคนที่ 2.(ปีที่พิมพ์).ชื่อหนังสือ.ครั้งที่พิมพ์.สถานที่พิมพ์:สำนักพิมพ์.
       3.ผู้แต่งนิติบุคคล
ชื่อนิติบุคคล.(ปีที่พิมพ์).ชื่อหนังสือ.ครั้งที่พิมพ์.สถานที่พิมพ์:สำนักพิมพ์.
       4.ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง
ชื่อหนังสือ.(ปีที่พิมพ์).ครั้งที่พิมพ์.สถานที่พิมพ์:สำนักพิมพ์.
       5.ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์
ชื่อผู้แต่ง.(ปีที่พิมพ์).ชื่อหนังสือ.ครั้งที่พิมพ์.[ม.ป.ท.]:สำนักพิมพ์.
ชื่อผู้แต่ง.(ปีที่พิมพ์).ชื่อหนังสือ.ครั้งที่พิมพ์.สถานที่พิมพ์:[ม.ป.ท.]
ชื่อผู้แต่ง.[ม.ป.ท.].ชื่อหนังสือ.ครั้งที่พิมพ์.สถานที่พิมพ์:สำนักพิมพ์.
ชื่อผู้แต่ง.[ม.ป.ท.].ชื่อหนังสือ.ครั้งที่พิมพ์.[ม.ป.ท.:ม.ป.พ.]
หนังสือแปล
       ชื่อผู้แต่งดั้งเดิม.(ปที่พิมพ์).ชื่อหนังสือฉบับแปล.(ชื่อผู้แปล,ผู้แปล).ครั้งที่พิมพ์.สถานที่พิมพ์:
สำนักพิมพ์.
บทความวารสาร
       ชื่อผู้เขียนบทความ.(ปีที่พิมพ์).ชื่อบทความ.ชื่อวารสาร.ปีที่(ฉบับที่),เลขหน้า.
บทความในหนังสือพิมพ์
       ชื่อผู้เขียนบทความ.(ปีที่พิมพ์,วัน เดือน).ชื่อบทความ.ชื่อหนังสือพิมพ์,หน้า.
การอ้างอิงข้อมุลจากอินเทอร์เน็ต
      -การอ้าข้อมูล ควรอ้างจาก web site ที่ข้อมูลนั้นโดยตรงไม่ควรอ้างจากหน้า home page หรือหน้า menu page
       -การพิมพ์ที่อยู่ URL หากพิมพ์ไม่พอ ต้องขึ้นบรรทัดใหม่ให้แบ่งข้อความหลังเครื่องหมาย / หรือเครื่องหมาย .
      -การอ้างจดหมายอิเล้กทรอนิกส์ให้อ้างในเนื้อหาของเอกสารเท่านั้น ไม่ควรนำมารวบรวมไว้ในรายการอ้างอิงเอกสารท้ายเล่ม เพราะ ข้อมูลจาก e-mail จะไม่อยู่ถาวร และสืบค้นต่อเนื่องอีกไม่ได้
     -ถ้าข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งให้ใส่ชื่อเรื่องหรือส่วนหนึ่งของชื่อเรื่อง ตามด้วยปีพิมพ์

วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

โครงเรื่อง

องค์การกับการสื่อสาร
1. บทนำ
    1.1 ความหมาย
         1.1.1 การสื่อสาร (Communication)   
         1.1.2  องค์การ (Organization)                                                                                                                                                                          
   1.2 ลักษณะของการสื่อสารขององค์การ
         1.2.1 การสื่อสารขององค์การจะมุ่งเน้นถึงการประสานความร่วมมือ (Coordination & Cooperation) ของคนผู้ทำงาน ควบคู่กับการมุ่งถึงเป้าหมาย (Goals directed) ของทุกฝ่ายเป็นสำคัญ                          
         1.2.2 การสื่อสารขององค์การจะเกิดขึ้นบนพื้นฐานภายในกรอบของระบบองค์การที่จัดไว้เป็นโครงสร้าง (Structured systems)
         1.2.3 การสื่อสารขององค์การจะต่างกับการสื่อสารอื่น ๆ
   1.3 ระบบการสื่อสารในองค์การ
         1.3.1 ระบบรวม (Macro Approach)
         1.3.2 ระบบย่อย (Micro Approach)
         1.3.3 ระบบเฉพาะบุคคล (Individual Approach)
   1.4 ประโยชน์ของการสื่อสาร
   1.5 อุปสรรคในการสื่อสาร
2. รูปแบบการสื่อสารภายในองค์การ
    2.1 ประเภทของการสื่อสาร
          2.1.1 การสื่อสารภายใน (Internal Communication)
          2.1.2 การสื่อสารภายนอก (External Communication)
    2.2 ช่องทางในการสื่อสาร (Communication Channals)
           2.2.1 การพูดคุยโดยตรง (Talk – Face to Face)
           2.2.2 การใช้โทรศัพท์ (Telephone)
           2.2.3 การใช้โทรสาร (Facimile)
           2.2.4 การใช้อีเมล์ (Email)
           2.2.5 การประชุม (Meeting)
           2.2.6  การประชุมทางไกล (VDO Conference)
           2.2.7 การจัดแสดงสาธิต (Demonstration)
           2.2.8 การส่งข้อความสั้น (SMS – Short Messaging Service)
3. สรุป

วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Lecture 02/02/54

การพิมพ์เนื้อหาโปรเจ็ก
-ใช้กระดาษ  A4  สีขาวในการพิมพ์
-ตั้งค่าหน้ากระดาษขอบบนและขอบซ้ายเท่ากับ  1.5นิ้ว  (3.81  ซม.)
-ขอบล่างและขอบขวาเท่ากับ  1  นิ้ว  (2.54  ซม.)
-ใช้ฟอนต์ Angsana  new  ขนาด  18  ในส่วนของเนื้อหา
-ใช้ฟอนต์ Angsana  new  ขนาด  18  ในส่วนของหัวข้อรายงานที่เป็นบรรทัดแรก  กึ่งกลางหน้ากระดาษ
-ใช้ตัวอักษรหนาเฉพาะส่วนที่เป็นหัวข้อเท่านั้น
-กรณีต้องการขึ้นบรรทัดใหม่เนื่องจากเนื้อหามีความยาว  ให้เริ่มพิมพ์ชิดขอบซ้าย
-จัดรูปแบบในเนื้อหาโดยรวมให้ชิดขอบซ้ายและขอบขวา
-เนื้อหารายงานมีศัพท์ภาษาอังกฤษ  ให้พิจารณาว่าคำนั้นมีการแปลและใช้ภาษาไทยแล้วหรือไม่  ถ้ามีให้ใช้ภาษาไทยแล้ววงเล็บภาษาอังกฤษกำกับ  ในครั้งแรก  (ครั้งต่อไปไม่ต้องใส่วงเล็บอีก)  แต่ถ้าเป็นศัพท์เฉพาะที่ไม่มีในภาษาไทยให้ใช้ภาษาอังกฤษ
-คำใดที่ใช้และรู้จักกันดีในภาษไทยแล้ว  ไม่จำเป็นต้องวงเล็บภาษาอังกฤษกำกับ
-ระวังการใช้เครื่องหมายอัญประกาศ  (  )  เนื่องจากเครื่องหมายดังกล่าวจะใช้ในการคัดลอกข้อความ  ซึ่งต้องมีการอ้างอิงแทรกในเนื้อหาด้วย
-กรณีพิมพ์ต้องขึ้นบรรทัดใหม่เนื่องจากเนื้อหามีความยาว  ให้เริ่มพิมพ์ชิดขอบซ้าย
-จัดรูปแบบเนื้อหาโดยรวมให้ชิดขอบซ้ายและขวา